DHCP(Dynamic Host Configuration Protocol)

คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการกำหนด IP Address อัตโนมัติแก่เครื่องลูกข่ายบนระบบ ที่ติดตั้ง TCP/IP สำหรับ DHCP server มีหน้าที่แจก IP ในเครือข่ายไม่ให้ซ้ำ เป็นการลดความซ้ำซ้อน เมื่อเครื่องลูกเริ่ม boot ก็จะขอ IP address, Subnet mark, หมายเลข DNS และ Default gateway

ขั้นตอนการเชื่อมต่อของเครื่องลูกกับ DHCP server

1. เครื่องลูกค้นหาเครื่อง DHCP server ในเครือข่าย โดยส่ง DHCP discover เพื่อร้องขอ IP address

2. DHCP server จะค้นหา IP ที่ว่างอยู่ในฐานข้อมูล แล้วส่ง DHCP offer กลังไปให้เครื่องลูก

3. เมื่อเครื่องลูกได้รับ IP ก็จะส่งสัญญาณตอบกลับ DHCP Request ให้เครื่องแม่ทราบ

4. DHCP server ส่งสัญญาณ DHCP Ack กลับไปให้เครื่องลูก เพื่อแจ้งว่าเริ่มใช้งานได้

ขั้นตอนการ Install DHCP Server

เปิด Terminal ขึ้นมา แล้วพิมพ์คำสั่ง $sudo apt-get install isc-dhcp-server (ในที่นี้จะยกตัวอย่างการลง isc dhcp server ซึ่งจะมี dhcp server อีกหนึ่งอันคือ dhcp3)


เมื่อลงเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการแก้ไข config ในการรับส่งข้อมูลผ่านทางแลนพอร์ตไหน ในที่นี้จะเป็นพอร์ตแลน eth0 ในบรรทัด INTERFACES=”” ภายในเครื่องหมายคำพูดให้ใส่ eth0 ตามตัวอย่าง โดยใช้คำสั่ง $sudo nano /etc/default/isc-dhcp-server เมื่อใส่ค่าเสร็จแล้ว ให้กด Ctrl+O แล้ว Enter



เมื่อเซฟค่าเสร็จแล้ว ให้เรียกใช้ Webmin ในแทปด้านซ้ายสุด ให้คลิ๊กที่เมนู Un-used Modules เมื่อคลิ๊กแล้วจะปรากฎเมนูย่อยขึ้นมาดังภาพ


เมื่อปรากฎเมนูย่อยแล้ว ให้คลิ๊กเข้าไปที่ DHCP Server เมื่อคลิ๊กแล้ว ด้านขวามือจะขึ้น GUI ของ DHCP แต่ยังเป็นตัวโปรแกรมว่างๆ ที่ยังไม่มีการคอนฟิค เมื่อขึ้นหน้า GUI ดังภาพแล้ว ให้ไปคลิ๊กที่ Click Here ตรงย่อหน้า ISC DHCPd เพื่อให้ตัว Webmin ทำการเชื่อมต่อกับตัว ISC DHCP



เมื่อ Install Complete แล้ว ให้กด Return to DHCP Server เพื่อที่จะกลับหน้าเดิม แล้วให้คลิ๊กที่ Module Config เพื่อเซ็ตค่าการแสดงผลของ DHCP Server โดยให้เซ็ตค่าดังภาพ

บรรทัด Command to Start DHCP server ให้ใส่ค่า service isc-dhcp-server start

บรรทัด Command to apply configuration ให้ใส่ค่า service isc-dhcp-server restart

บรรทัด Command to Stop DHCP server ให้ใส่ค่า service isc-dhcp-server stop

เมื่อกำหนดค่าดังภาพเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม save ทางด้านล่าง



เมื่อกด save เรียบร้อยแล้ว ตัว browserจะ Redirect กลับมาหน้า GUI DHCP Server เมื่อกลับมาหน้านี้แล้วให้ลองเปิด – ปิด service ของ dhcp server ว่าใช้งานได้หรือไม่ โดยใช้คำสั่งบน terminal $sudo service isc-dhcp-ser stop ในการหยุดการทำงาน dhcp $sudo service isc-dhcp-server start เป็นคำสั่งในการเริ่มทำงานของ dhcp ถ้าหากตัว dhcp server ทำงานปกติ จะขึ้นตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้ หรืออีกหนึ่งวิธีคือเมื่อ Redirect กลับมาหน้า GUI DHCP Server แล้ว จะมีปุ่ม Stop Server ทางด้านล่างสุดของหน้านี้ ให้กด Stop Server แล้วตามด้วยกด Start Server ในปุ่มที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันของหน้า GUI ทันที ถ้าหากไม่มี error messege ก็ถือว่า dhcp ใช้งานได้ตามปกติ



เมื่อตัว dhcp server พร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการ config dhcp ว่าจะทำการแจก ip address ในแนวทางไหน โดยไปที่หน้า DHCP Server แล้วลงมาที่ล่างสุด ให้กดปุ่ม Manually Edit Configuration เมื่อกดแล้วจะไปยังหน้าที่แก้ไข config ของ dhcp ดังภาพ



ให้ทำการ Copy Config ภายในไว้ในไฟล์ Text  ไว้ เพื่อทำการ Backup เมื่อทำการ config พลาด เมื่อ copy เสร็จเรียบร้อยให้ทำการลบ config ภายในให้หมด โดยจะเอา Config ที่มีไว้อยู่แล้วใส่ลงไป หรือว่าจะทำการ config ใหม่ก็ให้ใส่ลงไปในช่องนี้ ดังตัวอย่าง โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการกำหนดว่าการขอ ip address ผ่าน server นี้ จะให้ไปขอใช้ DNS ที่ IP ที่กำหนดไว้ โดยที่ตัวอย่างจะใช้ 8.8.8.8 และ 8.8.4.4 IP ทั้งสองชุดนี้จะเป็น DNS ของ Google แต่ถ้าหากมี DNS Server อยู่แล้ว ในบรรทัดนี้ให้ใส่ IP DNS Server ได้เลย ส่วนบรรทัดของ Domain name ให้ใส่ชื่อ Domain ที่ต้องการ ส่วนอื่นๆ ให้ใส่ค่าดังภาพ


ส่วนต่อมาจะเป็นการกำหนดเงื่อนไขการแจก IP โดยจะมีรายละเอียดดังนี้

# Net_ITFD_Staff_Vlan_2315

subnet 172.23.15.0 netmask 255.255.255.0 {

option routers 172.23.15.254;

range 172.23.15.33 172.23.15.200;

บรรทัดแรกจะเป็นคอมเมนต์เพื่อบอกว่า config นี้เป็น config ของหน่วยงานอะไรที่ได้ไป

บรรทัดที่สองจะเป็นการกำหนด Subnet และ Netmask

บรรทัดที่สามจะเป็นการกำหนดช่องทางการติดต่อกับ dhcp

บรรทัดสุดท้ายจะเป็นการกำหนดว่าจะแจก IP ตั้งแต่เบอร์อะไร ถึงเบอร์ที่เท่าไหร่ ในตัวอย่างจะกำหนดให้แจกตั้งแต่ เบอร์ที่ 33 ถึง 200 โดยที่ DHCP จะไม่แจกนอกเหนือจากนี้เป็นอันขาด นอกจากการไปกำหนดที่เครื่อง Client เอง

เมื่อกำหนด Config ได้แบบที่ต้องการแล้วให้กดที่ปุ่ม Save


เมื่อเซฟเสร็จแล้วจะกลับมาหน้า GUI DHCP เมื่อทำเสร็จจะขึ้นรายละเอียดดังรูปต่อไปนี้ แต่ถ้าหากใส่คอนฟิคผิดก็จะไม่แสดงผลดังภาพ เมื่อแสดงผลดังภาพแล้วให้ลงไปด้านล่างสุด แล้ว Stop – Start Server ใหม่ เป็นการเสร็จขั้นตอนการ Install&Config DHCP Server




ขั้นตอนการ Install & Config DHCP Server
Tagged on: