การตรวจสอบสถานะต่างๆจะเป็นทำงานผ่าน Command Prompt บน Windows โดยพิมพ์คำสั่ง cmd ให้ Click ขวาเลือก Run as administrator

           

คำสั่ง Ping

ตรวจสอบว่าโฮสต์ปลายทางได้เชื่อมต่อกับเป้าหมายปลายทางอยู่หรือไม่  โดยเป้าหมายปลายทางคือ  เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่สามารถกำหนดหมายเลข ip address ได้ โดยใช้คำสั่ง Ping “ชื่อ Host หรือหมายเลข IP ของเครื่องปลายทาง”

แต่ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายอีกฝั่งไม่มีสัญญาณตอบกลับมา จะแสดง “Request time out” ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ

    • ไม่มีเครื่องปลายทางที่เป็น IP หมายเลขนี้ หรือเครื่องปลายทางปิดอยู่
    • เครื่องปลายทางเปิด Firewall Block ICMP ไว้

เราสามารถ ปรับแต่ง Parameter ของ Ping เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆ เพิ่มมาอีกด้วย ยกตัวอย่าง เช่น

อยากจะทดสอบคุณภาพของ Network แต่ไม่มีเครื่องมือ สามารถใช้คำสั่ง Ping ช่วยได้ เช่น Ping ออกไป 100 Packet ถ้า Network คุณภาพดี ควรตอบกลับครบทั้ง 100 Packet และ ค่า RTT ไม่ควรขึ้นลง ควรจะเฉลี่ยเท่าๆ กันทั้งค่า Mix / Max โดยใช้คำสั่ง ping -n “จำนวน Packet แล้วก็ Host หรือหมายเลข IP”

หรือคำสั่ง ping -a “ชื่อ Host หรือหมายเลข IP” คำสั่งนี้จะช่วยเอา IP ไป resolve เป็น DNS Name กลับมาได้ ถ้ามีการทำ reverse dns เอาไว้สำหรับ IP นี้ครับ เมื่อสมัยก่อนเวลาได้ IP มา ต้องการที่จะรู้ว่าเป็นเว็บไหน ก็ใช้คำสั่งนี้ค้นหา แต่ปัจจุบันนี้ใช้ไม่ค่อยได้แล้ว เพราะ 1 IP แทนหลายเว็บมาก และปัจจุบันนี้ไม่ค่อยทำ reverse dns กันด้วย

นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกของคำสั่งเพิ่มเติมอีก เช่น

-t Ping ไปยัง Host ตามที่ระบุเรื่อยๆ จนกว่าจะยกเลิกโดยกด Ctrl+C หากต้องการดูสถิติให้กด Ctrl+PauseBreak

-l Size กำหนดขนาด Buffer

-f ตั้งค่าไม่ให้แยก Flag ใน Packet.

-i TTL Ping แบบกำหนด Time To Live โดยกำหนดค่าตั้งแต่ 1-255

-v TOS กำหนดประเภทของบริการ (Type of service)

-r Count Ping แบบมีการบันทึกเส้นทางและนับจำนวนครั้งในการ Hops จนกว่าจะถึงปลายทาง

-s Count Ping แบบนับเวลาในการ hop แต่ละครั้ง

-j Host-list Loose source route along host-list.

-k Host-list Strict source route along host-list.

-w Timeout Ping แบบกำหนดเวลารอคอยการตอบรับ

คำสั่ง Tracert

ตรวจสอบเส้นทางว่าผ่าน Router อะไรบ้าง โดยจะเรียกว่า Hop พร้อมบอกระยะเวลาของแต่ละ Hop ไว้ตรวจสอบว่าไปช้าตรงไหน หรือ ตรวจสอบ Server ปลายทาง ว่าข้อมูลที่ส่งไปหลุดตรงไหน โดยใช้คำสั่ง tracert “ชื่อ Host หรือหมายเลข IP”

ค้นหาโฮสต์ปลายทาง เราเตอร์บางตัวแสดงข้อความข้อผิดพลาด อาจเป็นเพราะ tracert ที่จำกัดเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายภายในที่มีผู้ให้บริการ

คำสั่ง Nslookup

ตรวจสอบว่าโดเมนเนมนี้ตรงกับหมายเลข IP อะไร และยังสามารถตรวจสอบได้ว่า DNS ที่เราใช้อยู่ยังให้บริการได้อยู่หรือไม่ เพราะหาก DNS ไม่สามารถให้บริการเป็นปกติจะไม่สามารถทำการแปลงจาก IP เป็นชื่อได้ (resolve ไม่ได้) โดยใช้คำสั่ง nslookup “ชื่อ Host หรือหมายเลข IP”

การตรวจสอบสถานะเครือข่ายเบื้องต้น ping, tracert, nslookup