Administrator Account หรือ Built-in Administrator Account หรือสิทธิ์การใช้งานสูงสุดสำหรับผู้ใช้งานบน Windows นั่นเอง ส่วนใหญ่สิทธิ์ของบัญชีผู้ใช้ตัวนี้ จะถูกซ่อนเอาไว้ไม่ให้มีการเรียกใช้งาน

Standard User: จะเป็นบัญชีมาตรฐานที่ถูกจำกัดการใช้งาน โดยหลักๆก็เช่น ถ้าเราเป็นเจ้าของเครื่อง แล้วมีเพื่อนหรือใครที่ไม่สนิทมาใช้งาน และเราไม่ไว้ใจว่าเขาจะทำอะไรกับเครื่อง ติดตั้งซอฟท์แวร์อะไรลงไปบนระบบของเราบ้าง เราก็สร้างบัญชีผู้ใช้งานขึ้นมาใหม่ 1 บัญชี แล้วเลือกสิทธิ์การใช้งานให้เป็น Standard user เขาก็จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวหรือเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งส่วนใดใน เครื่องที่เราเป็นเจ้าของอยู่ได้

Administrator user: จะเป็นบัญชีสำหรับผู้ดูแลระบบรองที่ถูกสร้างขึ้นโดยค่าเริ่มต้นในระหว่างการ ติดตั้ง Windows ส่วนใหญ่จะถูกกำหนดในขั้นตอนการติดตั้งขั้นตอนสุดท้าย ก่อนเข้าสู่ระบบหน้าจอเดสก์ทอป (สิทธิ์การใช้งานตัวนี้ เราจะพบเจอกันกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและใช้งานไม่กี่คนเป็นส่วนใหญ่) และบัญชี Administrator user สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อมูลต่างๆได้เกือบจะทุกอย่าง แม้จะมีหน้าต่าง UAC แจ้งเตือนขึ้นมา ทั้งนี้สำหรับการเปลี่ยนแปลงระบบบางส่วน เราก็ยังคงต้องพึ่งคำสั่งแบบ Advanced เช่น การจะเรียกใช้งาน Command Prompt แล้วพิมพ์คำสั่ง command line บางตัวที่อาจเกิดผลลัพธ์ที่ดีหรือไม่ดี หากพิมพ์ไปแล้ว ระบบอาจปฏิเสธการทำงาน แต่ถ้าเปิดหน้าต่าง Command Prompt ขึ้นมาใหม่ โดยการคลิกขวาเพิ่มสิทธิ์เป็น Run as Administrator ก็จะเทียบสิทธิ์เท่า Built-in Administrator

Built-in “Administrator”: จะเป็นบัญชีผู้ดูแลระบบขั้นสูงสุด และจะถูกซ่อนเอาไว้ สำหรับ user ทั่วไป จะไม่สามารถเปิดขึ้นมาใช้งานได้ จนกว่าเจ้าของเครื่องหรือผู้ติดตั้งระบบจะเป็นคนเปิดการทำงานขึ้นมา และการใช้งานทุกๆส่วน และไม่ว่าจะเปิดโปรแกรมหรือติดตั้งซอฟท์แวร์ใดๆ ก็จะไม่พบเจอกับหน้าต่างแจ้งเตือน UAC

1

หลังจากเปิดใช้บัญชีผู้ใช้งาน Administrator Account

วิธีที่ 1 การเปิดใช้งาน Administrator Account ผ่าน Command Prompt

2

ด้วยการคลิกปุ่ม Start แล้วพิมพ์คีย์เวิร์ด CMD ก็จะโชว์ตัวเลือก Command Prompt ขึ้นมา แล้วคลิกขวาเลือก Run as administrator

3

ใช้วิธีคลิกขวาที่ปุ่ม Start แล้วเลือก Command Prompt

4

เมื่อCommand Prompt ถูกเปิดขึ้นมา โชว์ข้อความ Administrator ด้วย เพราะถ้าไม่โชว์ ก็แสดงว่าหน้าต่าง Command Prompt ไม่ได้ถูกเปิดด้วยสิทธิ์ Admin จะไม่สามารถใช้คำสั่ง Command Line ด้านล่างได้

5

แล้วพิมพ์คำสั่ง Net user administrator /active:yes จนพบข้อความ The command completed successfully ก็ถือเป็นอันเสร็จสิ้น

ทั้งนี้ ถ้าหากต้องการปิดใช้งานสิทธิ์ Administrator ก็ให้ใช้คำสั่งNet user administrator /active:no

 

วิธีที่ 2 การเปิดใช้งาน Administrator Account ผ่านหน้าจอ

6

Start -> แล้วพิมพ์คำสั่ง Lusrmgr.msc แล้ว Enter

7

เมนูสตาร์ท เพื่อเลือกหัวข้อ Run ก็ได้ พิมพ์คำสั่ง Lusrmgr.msc -> คลิก OK

8

เมนูซ้ายเลือกหัวข้อ Users -> ดับเบิ้ลคลิกหัวข้อ Administrator

9

หน้าต่าง Administrator Properties จะถูกเปิดขึ้นมา ให้เอาเครื่องหมายถูกออกหน้าหัวข้อ Account is disabled แล้วคลิก -> Apply -> OK

วิธีที่ 3 การเปิดใช้งาน Administrator Account ด้วยคำสั่ง Secpol.msc

10

คลิกเมนูสตาร์ท แล้วพิมพ์คำสั่ง Secpol.msc -> Enter

11

หน้าต่าง Local Security Policy จะถูกเปิดขึ้นมา

ที่เมนูด้านซ้าย เลือกหัวข้อ Local Policies -> Security Options

ที่เมนูด้านขวา ดับเบิ้ลคลิกหัวข้อ Accounts: Administrator account status

12

Accounts: Administrator account status เลือกเป็น Enabled แล้วคลิก  OK

 

วิธีเปิดการใช้งาน Administrator Account บน Windows 10
Tagged on: